วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันที่ 11 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.
                ความรู้ที่ได้รับ
                     วันนี้ ครูให้เขียนวิธีทำของเล่นที่ประดิษฐ์ (โทรศัพท์ รับสาย) โดยเขียนเป็นลำดับขั้น แต่เขียนข้อความให้กระชับ เข้าใจง่าย


                จากนั้นเมื่อเขียนเสร็จให้เอาไปติดที่กระดาน โดย 1 แถวติด 3 แผ่น (3คน)


-           การเขียนผังกราฟฟิก เพื่อให้เขียนกระชับ และเข้าใจง่าย
-           ผังกราฟฟิก เป็นเครื่องมือในการนำเสนอ เป็นตัว T = Technology (STEM) ข้างในเป็นข้อมูลที่เป็นลำดับขั้น คือ การวางแผน เป็นตัว E = Engineer (STEM) และการเขียนเป็นลำดับ เป็น M = Mathematics (STEM)

จากนั้นให้จับกลุ่ม 8 คน (มี 4 กลุ่ม) แล้วเลือกของเล่น 1 ชิ้น เพื่อจะนำมาสอนเด็ก
ครูยกตัวอย่างเช่น ของเล่นคานดีด แล้วตั้งคำถามกับเด็กว่า ถ้าครูเอาปอมๆไปวางไว้ตรงนั้น แล้วครูกดตรงนี้ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น (เด็กได้สังเกต) จากนั้นหาว่า คานดีดของใครดีกว่า(ให้เด็กแข่งกัน) โดยจะมีเครื่องมือวัด เช่น นิ้ว,ฝ่ามือ เมื่อแข่งขันเสร็จแล้ว ให้เขียนเป็นผังกราฟฟิก โดยขั้นที่ 1 ให้เขียนคนที่ ดีดไปได้ไกลที่สุด แล้วทำยังไงถึงไปได้ไกล โดยไล่ลำดับ 2 3 4 ลงมาเรื่อยๆ เป็นต้น
                โดยกลุ่มของเรา จะทำของเล่น ชื่อว่า พลังปริศนา โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1.ร้องเพลงสงบเด็ก
2.เตรียมอุปกรณ์วางให้เด็กดูหน้าห้องเรียน แล้วถามเด็กว่า “เด็กๆคิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกัน”
3.แนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถามว่า “เด็กๆรู้จักอุปกรณ์ชิ้นไหนบ้างที่อยู่ตรงนี้ แล้วสามารถนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปทำอะไรได้บ้าง” โดยถ้าอุปกรณ์ชิ้นไหนที่เด็กไม่รู้จัก ให้ครูบอกชื่ออุปกรณ์นั้น (ยกขึ้นมาให้เด็กดู) แล้วให้เด็กพูดชื่ออุปกรณ์นั้นตามครู
4.แนะนำอุปกรณ์
                1.แผ่นซีดี 1 แผ่น
                2.ฝาขวดน้ำ 1 ฝา
                3.หน่วยวัด (ใช้คืบในการวัด) 1 คืบ
                4.สายยาง 1 เมตร
5.เปิดคลิปวิดีโอ
6.สาธิตการประดิษฐ์ พลังปริศนา โดยพูดกับเด็กว่า “วันนี้ครูมีกิจกรรมมาให้เด็กๆทำด้วย โดยครูจะทำให้ดูก่อนหนึ่งรอบ แล้วเด็กคนไหนนั่งเรียบร้อยที่สุด จะได้ออกมาช่วยครู” เป็นการทำให้เด็กมีส่วนร่วมในการวัดความยาวของสายยาง
7.ขั้นตอนการทำ
                1.ใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์เจาะรูที่ฝาขวดให้มีขนาดพอดีกับสายยางที่เตรียมไว้
                2.นำสายยางใส่เข้าไปในรูฝาขวด
                3.ติดกาวบริเวณที่เจาะรูทั้งด้านนอกและด้านในของฝาขวด ทิ้งไว้ให้กาวแห้ง
                4.เมื่อกาวแห้งแล้ว นำฝาขวดติดกับแผ่นซีดี
8.ใช้คำถามว่า "วิธีการที่ทำให้แผ่นซีดีลอย ทำได้อย่างไรบ้าง" จากนั้นถามว่า "ถ้าเป่าแล้วจะเกิดอะไรขึ้น" แล้วชวนเด็กไปทดลอง
9.ให้เด็กแข่งขัน โดยครูกำหนดบริเวณ(พื้นที่การแข่งขัน) โดยเป่าซีดีได้เพียงหนึ่งครั้ง ถ้าของคนไหนไปได้ไกลกว่าเป็นผู้ชนะโดยมีเครื่องมือในการวัด คือ คืบ (รูปมือขนาด 1คืบ) ถามเด็กว่า “ทำไมของ(เด็กที่ชนะ)ถึงไปได้ไกลกว่าเพื่อน” จากนั้นบันทึกลงผังกราฟฟิก เหตุผลที่ไกล-ใกล้กว่า จะทำให้เด็กได้สังเกต --- เกิดการเปรียบเทียบ --- ได้ข้อมูล --- นำมาพิจาณาเลือก/ตัดสินใจ
10.สรุปผลการทดลอง ถามเด็กว่า “เด็กๆคิดว่าแผ่นซีดีลอยได้เพราะอะไร”



                การนำไปประยุกต์ใช้
                สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต โดยของเล่นที่ประดิษฐ์ เป็นการประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ และเด็กสามารถทำได้เอง อีกทั้งเด็กยังได้เล่น เพราะการเล่นเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
                การประเมิน
                การประเมินตนเอง ช่วยระดมความคิด ฟังกลุ่มอื่นแล้วนำมาปรับปรุงของกลุ่มตนเอง
                การประเมินเพื่อน เพื่อนๆช่วยกันฟัง ทั้งกลุ่มของตนเอง และกลุ่มของคนอื่น เพื่อจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

                การประเมินผู้สอน ครูบอกข้อดีและข้อเสียของกิจกรรม คอยแนะนำ ว่าควรปรับปรุงอย่างไรตรงไหน เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                การประเมินสภาพแวดล้อม แอร์หนาวมาก บรรยากาศสนุกสนานแต่ก็แอบตึงเครียดเล็กน้อยตอนที่ต้องออกไปนำเสนองาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น