วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คลิปวิดิโอการสอนเด็กปฐมวัย เรื่อง สีเต้นระบำ


     ครูหยดน้ำยาล้างจานลงไปในจานที่ใส่นมและสีผสมอาหาร จากนั้นถามเด็กว่า "เด็กๆคิดว่า จะเกิดอะไรขึ้น" จากนั้นให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลง

หลักการวิทยาศาสตร์ ของสีเต้นระบำ ในน้ำนมประกอบไปด้วย น้ำ โปรตีน แร่ธาตุ และไขมัน น้ำยาล้างจานจะไปทำให้โมเลกุลของโปรตีนและไขมันเกิดการเปลี่ยนแปลง และแตกกระจาย โค้ง บิดเบี้ยว ม้วน (ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้เราสามารถล้างจานมันๆ ได้อย่างสะอาดหมดจดนั่นเอง) และสีผสมอาหารที่หยดลงไปในนมจะช่วยให้เราสามารถสังเกตุการเปลี่ยนแปลงที่มองไม่เห็นนั้นได้อย่างง่ายดาย

สรุปบทความ

สรุปบทความ
เรื่อง วิทย์ - คณิต สำคัญอย่างไรต่ออนาคตของชาติ

     การเรียนรู้ในช่วงชีวิต 0-6 ขวบ จะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์แต่ละคนจะโตขึ้นเป็นคนอย่างไร ขึ้นอยู่กับช่วงวัยนี้ เพราะเซลล์สมองจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เราจึงให้ความสำคัญต่อเด็กในวัยนี้ "คุณภาพของครูเป็นเรื่องที่สำคัญ ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู ต้องมีโอกาสก้าวหน้าและมีแรงจูงใจ ได้แก่ ครู หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลง คือ 70-30 % ระหว่างเล่น และเรียน เด็กปฐมวัยต้องเน้นที่การเล่นมากกว่า ที่สำคัญการปฏิรูปการศึกษา ไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการอย่างเดียวแต่เป็นหน้าที่ร่วมกันของผู้ปกครองและทุกส่วนในสังคม"
     การให้การศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เรื่องของกระบวนการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญกว่าเนื้อหาและแบบฝึกหัด ดังนั้น จึงต้องมีการทำความเข้าใจกับแม่ ผู้ปกครอง เพราะหลายคนเมื่อส่งเข้าเรียนอนุบาลมักจะคาดหวังว่าลูกจะอ่านออก เขียนได้ ซึ่งเรื่องนี้ ดร.วรากรณ์ เห็นว่า การอ่านออกเสียง เขียนได้ เป็นสิ่งสำคัญก็จริง เพราะการคิด การอธิบายความ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีความสามารถทางภาษา แต่ไม่ใช่ในระดับอนุบาล แต่ควรจะเริ่มต้นในระดับประถมศึกษาปีที่ 2 ขึ้นไป 
     ทั้งนี้ในระดับปฐมวัยนั้น การเรียนการสอนควรจะเป็นการกระตุ้นให้เขาค้นหา ค้นคว้า ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างนักวิทยาศาสตร์น้อยขึ้นมามากกว่า อย่าสกัดกั้นความอยากรู้ อยากเห็นของเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครองจะต้องรู้ว่า ในวัยนี้ กำลังเรียนรู้อะไร เราควรจะส่งเสริมอย่างไร
     สสวท. ได้มีการสร้างกรอบมาตรฐานและคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาตร์ปฐมวัย

กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย มีดังนี้
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย มีดังนี้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

สรุปวิจัย

สรุปวิจัย 
เรื่อง การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย  นางสายทิพย์ ศรีแก้วทุม

ความสำคัญของการวิจัย
     การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปถึงวิธีการที่จะส่งผลต่อการพัฒนาการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย และจะเป็นเเนวทางใหม่สำหรับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
     เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
   -  ประชากร
         ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี อยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์  อำเภอภูผาม่าน จังหวัด ขอนเเก่น
   - กลุ่มตัวอย่าง 
         กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 โดยการสุ่มอย่างเจาะจง จำนวน 30 คน แล้วสุ่มอีกกลุ่มหนึ่ง โดยจับสลากรายชื่อนักเรียนเเบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.ผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
     แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
2.แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล จำนวน 50 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ชุด
1.แบบทดสอบด้านการจำเเนก
2.การจัดประเภท  
3.อุปมาอุปมัย 
4.อนุกรม  
5.แบบทดสอบสรุปความ
ทั้ง 4 ชุดนี้เป็นแบบทดสอบที่เป็นรูปภาพเหมือนจริงและรูปทรงเรขาคณิต

วิธีการดำเนินการทดลอง 
1.ทำความคุ้นเคยกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างรวมระยะเวลา 1สัปดาห์
2.ทำการทดลองก่อนทดลองกับเด็กปฐมวัยด้วยเเบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล 5     ด้าน ด้านละ 10 ข้อ รวม 50 ข้อ
3.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งกลุ่มการทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยเเต่ละกลุ่มทำกิจกรรมทุกวัน วันละ 20 นาที เป็นเวลา 8 สปดาห์ๆละ 5 วัน รวม 40 ครั้ง
4.เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล ชุดเดียวกับการทดสอบก่อนทำการทดลอง

สรุปผลการศึกษค้นคว้า
 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเเบบปกติหลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5โดยปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีคะเเนนการคิดอย่างมีเหตุผลสูงกว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้ อาจารย์ให้สาธิตการสอนของแต่ละหน่วย หน่วยละ 1 วัน (วันที่จับฉลากได้)
กลุ่มของดิฉัน หน่วยส้ม วันที่นำมาสาธิตคือ วันพุธ เรื่องการถนอมส้ม

     ในขั้นแรกครูนำส้มเชื่อมและส้มสดมาให้เด็ก ดู ดม ชิมรส หลังจากนั้นให้เด็กนำสติ๊กเกอร์มาแปะลงในตารางความสำรวจความชอบระหว่างส้มเชื่อมกับส้มสด จากนั้นครูถามเหตุผลที่เด็กชอบ/ไม่ชอบ ส้มเชื่อมและส้มสด โดยครูนับจำนวนสติ๊กเกอร์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง

     เมื่อนับจำนวนเสร็จแล้ว ครูจะถามคำถามว่า เด็กๆคิดว่า เราจะนำเมล็ดส้มมาเล่นอย่างไรได้บ้าง



จากนั้น เปิดคลิปวิดิโอเพื่อค้นหาเครื่องมือที่จะทำให้เมล็ดส้มเคลื่อนที่ได้ และนำมาทำเป็นของเล่น



จากนั้นครูสาธิตวิธีการทำ ขวดบ้าพลัง


แจกอุปกรณ์ให้เด็กได้ลงมือทำชวดบ้าพลังด้วยตนเอง


เมื่อทำของเล่นขวดบ้าพลังเสร็จแล้ว ให้เด็กนำมาเล่นแข่งกัน


ตัวอย่างการสอนของกลุ่มเพื่อน












การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     เห็นถึงวิธีการสอนแบบจริงๆ เนื่องจากจำลองเหตุการแบบจริงๆ เห็นภาพ ทำให้เห็นข้อดี และข้อบกพร่องของวิธีการสอนกลุ่มต่างๆ รวมถึงกลุ่มของตนเองด้วย

ประเมินผู้สอน
     อาจารย์แนะนำกลุ่มต่างๆ พูดถึงข้อดี เพื่อให้ข้อดีนั้นคงอยู่ พูดถึงข้อเสีย เพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงเพื่อนำไปใช้ในอนาคต

ประเมินตนเอง
     ตอนที่ต้องออกไปพูดสอน ตื่นเต้น พูดผิดบ้าง ถูกบ้าง แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี

ประเมินสภาพแวดล้อม
     เพื่อนๆสนุกสนานกับการเรียนวันนี้ เพราะได้แสดงเป็นเด็ก ได้ทำกิจกรรมของกลุ่มอื่นที่ได้เตรียมเนื้อหามาทดลองสอนในหน่วยของตนเอง

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้ เป็นการเขียนแผนการสอนของแต่ละวัน

ตัวอย่างแผนการสอนของหน่วยส้ม

วันจันทร์ เรื่อง สายพันธุ์
วันอังคาร เรื่อง ลักษณะ
วันพุธ เรื่อง การถนอมอาหาร
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์และข้อควรระวัง
วันศุกร์ เรื่อง การทำน้ำส้มคั้น (Cooking)

โดยกลุ่มของดิฉัน จะสาธิตวิธีการสอนของวันพุธ เรื่อง การถนอมส้ม

วัตถุประสงค์
1.เด็กสามารถบอกวิธีการถนอมอาหารได้
2.เด็กสามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างส้มสดกับส้มที่ผ่านการถนอมอาหารได้

สาระที่ควรเรียนรู้
1.การถนอมอาหารของส้มมีหลากหลายวิธี เช่น ส้มเชื่อม ส้มกวน ส้มแห้ง

ประสบการณ์สำคัญ
- ด้านร่างกาย
   การต่อของ และการแยกชิ้นส่วน
- ด้านอารมณ์-จิตใจ
   การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับเรื่องราว
- ด้านสังคม
   การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการเคารพความคิดเห็นผู้อื่น
- ด้านสติปัญญา
   การแสดงออกความรู้ด้วยคำพูด การพูดเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
   1.ครูให้เด็กเล่นเกมภาพตัดต่อ ส้มเชื่อม กับ ส้มสด
ขั้นสอน
   2.ครูใช้คำถาม ถามเด็กๆ เราจะทำอย่างไรที่จะเก็บส้มไว้กินได้นานๆ
   3.ครูนำส้มสดและส้มที่ผ่านการถนอมอาหารมาให้เด็กดู
   4.ครูนำส้มเชื่อมและส้มสดมาให้เด็กๆ ดู ดมกลิ่น และชิมรส
   5.ครูถามเด็กว่า เด็กชอบส้มเชื่อมหรือส้มสดมากกว่ากัน ถ้าเด็กๆชอบส้มแบบไหนให้เด็กนำสติ๊กเกอร์ไปติดลงบนตารางที่ครูเตรียมไว้
   6.ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนสติ๊กเกอร์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
ขั้นสรุป
   7.ครูสรุปผลว่าเด็กชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากัน และถามเหตุผลที่ชอบและไม่ชอบ จากนั้นครูเขียนเหตุผลเด็กลงในตารางที่ครูเตรียมไว้

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
   1.เกมการศึกษา
   2.ส้มที่ผ่านการถนอมอาหาร ส้มเชื่อม ส้มกวน ส้มแห้งสามรส
   3.ตาราง
   4.สติ๊กเกอร์

การวัดและประเมินผล
   1.แบบบันทึกการสังเกต ฟังจากการตอบคำถามและอธิบายความแตกต่างของส้มสดและส้มเชื่อม

การบูรณาการ
   1.วิทยาศาสตร์
   2.คณิตศาสตร์
   3.สังคม
   4.ภาษา

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     นำไปเขียนแผนได้ในอนาคต

ประเมินผู้สอน
     อาจารย์อธิบายเนื้อหาการเรียน และวิธีการสอนอย่างละเอียด

ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ โดยตรงไหนที่ไม่เข้าใจก็ปรึกษากันเอง และปรึกษาอาจารย์ด้วย

ประเมินตนเอง
     ช่วยเพื่อนคิดแผนการสอน และแบ่งหน้าที่ในการสอน ว่าใครจะสอนตรงส่วนไหน

ประเมินสภาพแวดล้อม
     การเรียนวันนี้ตึงเครียดเล็กน้อย เนื่องจากเป็นการเขียนแผนการสอน แต่ก็ได้เห็นเพื่อนๆช่วยกันคิดแผน โดยใครรับผิดชอบเขียนแผนวันไหน ก็จะรวมกัน เพื่อจับกลุ่มปรึกษากัน

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วันที่ 8 พฤษจิกายน 2559
เวลา 09.00 - 13.00 น.

เข้าร่วมกิจกรรมการสาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ







บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้ นำเสนอคลิปวิดิโอ การทำของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม




2.พลังปริศนา



3.รถหลอดด้าย



4.ลูกข่างนักสืบ


การทำ mind map บูรณาการการสอน

1. คณิตศาสตร์ 6 มาตรฐาน
   สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
   สาระที่ 2 การวัด
   สาระที่ 3 เรขาคณิต
   สาระที่ 4 พีชคณิต
   สาระที่ 5 การวิเคราห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
   สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ล

2.วิทยาศาสตร์

     ทักษะทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ มีดังนี้
   1.การสังเกต
   2.การวัด
   3.การคำนวน
   4.การจำแนกประเภท
   5.การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
   6.การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
   7.การลงความเห็นจากข้อมูล
   8.การพยากรณ์
   9.การตั้งสมมติฐาน
   10.การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
   11.การกำหนดและควบคุมตัวแปร
   12.การทดลอง
   13.การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล

     กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ 8 มาตรฐาน มีดังนี้
   สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
   สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
   สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
   สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ 
   สาระที่ 5 พลังงาน
   สาระที่ 6 กระบวนการการเปลี่ยนแปลงของโลก
   สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
   สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนลยี

     กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
   1.กำหนดขอบข่ายปัญหา
   2.ตั้งสมมติฐาน
   3.ทดลอง
   4.วิเคราะห์
   5.สรุปผล

3.ศิลปะ
   1.วาดภาพ ระบายสี
   2.การปั้น
   3.การฉีก ตัด แปะ
   4.การประดิษฐ์
   5.การพิมพ์ภาพ
   6.การเล่นกับสี

4.สังคม
   1.การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
   2.การช่วยเหลือตนเอง

5.สุขศึกษาและพลศึกษา
   1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
   2.กิจกรรมกลางแจ้ง

 mind map บูรณาการกับกิจรรม 6 หลัก



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   - ได้รู้วิธีการทำของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ และการใช้ T (Technology)มาใช้ในการสอนแบบ STEM
   - รู้วิธีการบูรณาการสอนหน่วยต่างๆกับ 6 กิจกรรมหลัก

ประเมินผู้สอน
   อาจารย์อธิบายทุกขั้นตอนอย่างละเอียด ตรงไหนนักศึกษามีคำถาม ก็จะตอบคำถามให้นักศึกษาเข้าใจอยางแท้จริง

ประเมินเพื่อน
   เพื่อนพยายามคิดตามที่ครูสอน ตรงไหนที่ไม่เข้าใจก็ยกมือถามทันที่ ทำให้เพื่อนคนอื่นๆในห้องที่ไม่เข้าใจ ได้รู้คำตอบไปด้วย

ประเมินตนเอง
   ตอนแรกคิดกิจกรรมหลักที่จะนำมาบูรณาการไม่ออก ก็พยายามคิดและปรึกษากับเพื่อนในกลุ่ม จนได้กิจกรรมที่เหมาะสมมาบูรณาการการเรียนการสอน

ประเมินสภาพแวดล้อม
     บรรยากาศสนุกสนานไม่ตึงเครียด