วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2
วันที่ 16 สิงหาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

                ความรู้ที่ได้รับ
                วิทยาศาสตร์ (science) คือ การสืบค้นข้อมูลความจริงของสิ่งต่างๆรอบตัว โดยโลก ดาราศาสตร์ และสิ่งรอบตัว เป็นเนื้อหาวิชา (subject matter)
                การเลือกเรื่องมาสอนเด็ก ควรเลือกจาก
1.เรื่องใกล้ตัวเด็ก
2.ความสนใจของเด็ก
3.เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนั้น
4.ผลกระทบต่อเด็ก
                การสืบค้นหาความจริงโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีขั้นตอน คือ
1.กำหนดปัญหา
2.ตั้งสมมติฐาน
3.รวบรวมข้อมูล
4.วิเคราะห์
5.สรุปผล
                วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลง โดย แนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
1.การเปลี่ยนแปลง
2.การปรับตัว เช่น กิ้งกือ เมื่อมีคนไปโดนจะหดตัว
3.ความแตกต่าง
4.การพึ่งกาอาศัยกัน เช่น กาฝาก ควายกับนกเอี้ยง
5.ความสมดุล เช่น ช้างบุกสวนผลไม้เพราะไม่มีอาหาร เนืองจาก อาหารในป่ากับจำนวนช้าง ไม่มีความสมดุลกัน
                เครื่องมือการเรียนรู้
1.ภาษา(Language)
2.คณิตศาสตร์(Mathematics)
                เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1.อยากรู้อยากเห็น (การตั้งปัญหา)
2.ความเพียรพยายาม
3.มีระเบียบรอบคอบ
4.มีความซื่อสัตย์
5.มีเหตุผล
6.มีใจกว้าง
                ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ คือ เป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อการดำเนินชีวิต ทำให้สะดวก สบาย ในด้านการสร้างเสริมประสบการณ์ วิทยาศาสตร์ทำให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง
                เด็กปฐมวัย
-พัฒนาการ(Development) คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่องซึ่งจะบ่งบอกความสามารถของเด็กในแต่ละอายุ โดยพัฒนาการมีพื้นฐานมาจากการทำงานของสมอง
-การเล่น คือ วิธีการเรียนรู้ของเด็กที่ลงมือกระทำอย่างอิสระ โดยครูมีหน้าที่วางแผนอำนวยความสะดวกให้แก่เด็ก
-การจัดประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับพัฒนาการ และวิธีการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้คือ การเล่น การลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าด้วยตนเอง จะทำให้เด็กมีประสบการณ์
การประยุกต์ใช้
-          -  รู้วิธีการเลือกเรื่อง, เนื้อหา ที่จะมาสอนเด็กว่า ซึ่งเราสามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต
-          -  รู้ว่า การที่เด็กจะได้เรียนรู้ คือการที่เด็กได้ลงมือเล่น ดังนั้น เราจึงควรให้เด็กได้ลงมือเล่นเองอย่างอิสระ เราแค่เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่เด็กเท่านั้น

             กระประเมิน
-           การประเมินตนเอง จดและพยายามคิดตามที่ครูอธิบาย พยายามหาคำตอบ เมื่อครูตั้งคำถามขึ้นมา
-           การประเมินเพื่อน เพื่อนในห้องช่วยกันตอบคำถาม ที่ครูตั้งขึ้น

-           การประเมินผู้สอน ครูมีการตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิด และหาคำตอบ อีกทั้งยังอธิบายเพิ่มเติมเมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ
                การประเมินสภาพแวดล้อม แอร์เย็นมาก ไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น