วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้นำเสนอของเล่นประดิษฐ์ของแต่ละกลุ่ม (กลุ่มละ 3คน) โดยแต่ละกลุ่มมีรายชื่อของเล่น ดังนี้
1.ไข่มหัศจรรย์
2.แม่เหล็กเต้นระบำ
3.วงจรของโลก
4.Twin Plane
5.ระบบสุริยะจักรวาล
6.ผีเสื้อเริงระบำ
7.จานหรรษา
8.นาฬิกาธรรมชาติ
9.ภาพขยายใต้สายน้ำ

                                       โดยกลุ่มของดิฉัน ทำของเล่น คือ ภาพขยายใต้สายน้ำ





อุปกรณ์ การประดิษฐ์ภาพขยายใต้สายน้ำ
1.ถังน้ำขนาด 5 ลิตร 2 ใบ
2.พลาสติกใส ความยาว 1 เมตร
3.เชือก 2 เส้น
4.วัตถุที่นำมาให้สังเกต (วัตถุควรเหมือนกัน จะได้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน)

วิธีการทำ

1.ตัดส่วนบนของถังน้ำ โดยตัดทั้ง 1 ใบ ให้มีขนาดเท่ากัน



2.ตัดช่องสีเหลี่ยมที่ด้านล่างถัง ให้มีขนาดพอเหมาะที่จะใส่วัตถุที่จะสังเกต (ตัดทั้ง 2 ใบ)


3.นำพลาสติกใส่มาคลุมส่วนบนของถังที่ตัดออกไป 
เพื่อทำให้พลาสติกหย่อนเล็กน้อย(เอาไว้ใส่น้ำ) จากนั้นผูกด้วยเชือกให้แน่น
(ทำให้เหมือนกันทั้ง 2 ถัง)


วิธีการเล่น
1.เทน้ำใส่ลงบนแผ่นพลาสติกใสที่หุ้มอยู่บนถัง โดยใส่น้ำทั้ง 2 ถังให้มีปริมาณที่เท่ากัน
2.ใส่วัตถุที่จะสังเกตในช่องด้านล่างถัง โดยวัตถุจะต้องเหมือนกัน เพื่อให้สังเกตถึงความแตกต่างได้ง่ายชึ้น
3.สังเกตความแตกต่าง โดยมองจากด้านบนของถังน้ำ

ของเล่นชิ้นนี้ มีหลักวิทยาศาสตร์ คือ การหักเหของแสง
         การหักเหของแสง เป็นสมบัติอย่างหนุ่งของแสงโดยปกติแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง เมื่อเดินทางผ่านวัตถุโปร่งใสชนิดเดียวกัน แต่บางครั้งการเดินทางของแสงผ่านวัตถุ 2 ชนิด เช่น แสงเดินทางผ่านอากาศแล้วผ่านไปในน้ำ การเดินทางของแสงในวัตถุทั้ง 2 จะเป็นเส้นตรง แต่ไม่อยู่ในแนวเดียวกัน นั่นคือ แสงจะเกืดการหักเหไปจากแนวเดิม ตรงรอยต่อของระหว่างผิวของวัตถุทั้งสองชนิดนั้น

การจัดประสบการณ์แบบ STEM

1.หลักการเลือก หัวข้อเรื่อง
   - เลือกเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
   - เลือกเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก

2.นำหัวข้อเรื่องมาแตกองค์ความรู้
   - สายพันธุ์ , ประเภท
   - ลักษณะ
   - การดูแลรักษา , การเจริญเติบโต
   - การถนอมอาหาร , การแปรรูป
   - ประโยชน์ , โทษ

3.เครื่องมือการเรียนรู้
   - คณิตศาสตร์
   - ภาษา

4.เรื่องต้องสัมพันธ์กับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย
   สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
   สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
   สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
   สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ 
   สาระที่ 5 พลังงาน
   สาระที่ 6 กระบวนการการเปลี่ยนแปลงของโลก
   สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
   สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนลยี

5.วิธีการทางวิทยาศาสตร์
   - ตั้งขอบข่ายปัญหา
   - ตั้งสมมติฐาน
   - การทดลอง
   - วิเคราะห์ สรุป

6.คำนึงถึงเจตคติทางวิทยาศาสตร์
   - ความอยากรู้ อยากเห็น
   - ความพยายาม
   - ความรอบขอบ มีระเบียบ
   - ความซื่อสัตย์
   - มีเหตุผล
   - ใจกว้าง

ตัวอย่างการแตกองค์ความรู้


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   สามารถเขียน mind map ได้ถูกวิธี และครอบคลุมเนื้อหาครอบถ้วน

ประเมินผู้สอน
   อาจารย์คอยสอนทีละขั้นตอน ค่อยๆอธิบายอย่างใจเย็น ทำให้เข้าใจงาน และวิธีการทำงานอย่างแท้จริง

ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆตั้งใจทำงาน พยายามทำงานออกมาให้ดีที่สุด

ประเมินตนเอง
   ช่วยเพื่อนแสดงความคิดเห็น และช่วยทำงานกลุ่มอย่างตั้งใจ

ประเมินสภาพแวดล้อม
     สนุกสนาน เนื่องจากได้ทำงานร่วมกับเพื่อนและได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ทำให้การเรียนวันนี้ไม่ค่อยตึงเครียด











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น