วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 6 กันยายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.
              
  ความรู้ที่ได้รับ
                     วันนี้ ครูให้มาดูคลิปวิทยาศาสตร์ เรื่อง อากาศ ที่ห้องมัลติมีเดีย ณ สำนักวิทยบริการ โดยการทดลองในคลิปมีดังนี้
1.การทดลอง อากาศ ไม่ทำให้ทิชชูเปียก
2.การทดลอง กรอกน้ำใส่ขวดแล้วนำดินน้ำมันติดไว้ที่ปากขวด
3.การชั่งน้ำหนักอากาศ โดยน้ำหนักของอากาศจะขึ้นอยู่กับความร้อน ความเย็น ของอากาศนั่นเอง
4.การทดลองแขวนแก้ว โดยเอาความร้อนมาจ่อทำให้อากาศร้อน หลักการนี้ ที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันคือ ใช้ในการผลิตบอลลูน
5.โหลเปล่า แช่น้ำร้อน-น้ำเย็น การทดลองนี้ เป็นการทดลองเกี่ยวกับการปรับสมดุล ของลม โดยบนพื้นโลกนั้น ในแต่ละที่ความร้อน-ความเย็นของอากาศไม่เท่ากัน
*แรงดันอากาศ คือ แรงที่อากาศกดลงบนพื้นผิววัตถุ
                เช่น          1.เทน้ำใส่แก้ว แล้วนำกระดาษมาปิด จากนั้นคว่ำแก้ว จะเห็นได้ว่า น้ำจะไม่หก
                                2.นำลูกโป่ง(ที่ยังไม่ได้เป่า)วางไว้ใต้หนังสือ จากนั้น ค่อยๆเป่าลูกโป่ง จะเห็นได้ว่า ลูกโป่งจะยกหนังสือขึ้น โดยที่เราไม่ต้องใช้มือยกหนังสือ
                                3.การเจาะรูบนกระป๋องนม ต้องเจาะ 2 รู ตรงข้ามกัน จะทำให้สามารถเทนมออกมาได้
*แรงต้านอากาศ คือ แรงที่อากาศต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ
                เช่น          1.การกระโดดร่ม
                                จากนั้นนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์ ซึ่งฉันประดิษฐ์ โทรศัพท์รับสาย ซึ่งใช้หลักการวิทยาศาสตร์ คือ เสียงจะเดินทางได้ต้องอาศัยตัวกลาง ซึ่งปกติการที่มนุษย์สื่อสารกันธรรมดา อากาศที่อยู่ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารนั้นจะเปรียบเหมือนเป็นตัวกลาง แต่เมื่อเราพูดในกระบอกแก้วจะเปรียบเหมือนอากาศปิด หลังจากนำเสนอเสร็จครูก็จะให้คำแนะนำและคำติชม นักศึกษาแต่ละคนเกี่ยวกับของเลนที่ประดิษฐ์มา
               
การประยุกต์ใช้
-           สามารถนำเนื้อหาหรือกิจกรรมไปสอนเด็กได้ในอนาคต
การประเมิน
การประเมินตนเอง ตั้งใจดูคลิป และพยายามจดบันทึก ส่วนข้อติชมที่ครูได้แนะนำมานั้นก็น้อมรับและนำมาแก้ไขปรับปรุงของเล่นต่อไป
การประเมินเพื่อน เพื่อนๆเตรียมตัวมานำเสนองาน หาข้อมูล หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับของเล่นที่ตนเองประดิษฐ์ โดยเพื่อนส่วนมากได้นำของเล่นมาด้วย

การประเมินผู้สอน ครูพยายามหาสื่อ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาให้ดู เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นและเข้าใจมากขึ้น อีกทั้งยังพยายามให้นักศึกษาพัฒนาตนเอง คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยนำสิ่งของเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
การประเมินสภาพแวดล้อม ไม่เคยไปห้องมัลติมีเดีย ไปครั้งแรกรู้สึกประทับใจมาก บรรยากาศเหมือนโรงหนังจริงๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น