สรุปวิจัย
เรื่อง
การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
ผู้วิจัย
นางสายทิพย์ ศรีแก้วทุม
ความสำคัญของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ
ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปถึงวิธีการที่จะส่งผลต่อการพัฒนาการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย
และจะเป็นเเนวทางใหม่สำหรับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย
ที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
- ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย
ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี อยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์ อำเภอภูผาม่าน จังหวัด ขอนเเก่น
- กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 โดยการสุ่มอย่างเจาะจง
จำนวน 30 คน แล้วสุ่มอีกกลุ่มหนึ่ง
โดยจับสลากรายชื่อนักเรียนเเบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
2.แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล จำนวน 50 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ชุด
1.แบบทดสอบด้านการจำเเนก
2.การจัดประเภท
3.อุปมาอุปมัย
4.อนุกรม
5.แบบทดสอบสรุปความ
ทั้ง 4 ชุดนี้เป็นแบบทดสอบที่เป็นรูปภาพเหมือนจริงและรูปทรงเรขาคณิต
วิธีการดำเนินการทดลอง
1.ทำความคุ้นเคยกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างรวมระยะเวลา 1สัปดาห์
2.ทำการทดลองก่อนทดลองกับเด็กปฐมวัยด้วยเเบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล 5 ด้าน ด้านละ 10 ข้อ รวม 50 ข้อ
3.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งกลุ่มการทดลอง
และกลุ่มควบคุม โดยเเต่ละกลุ่มทำกิจกรรมทุกวัน วันละ 20 นาที เป็นเวลา 8 สปดาห์ๆละ 5 วัน รวม 40 ครั้ง
4.เมื่อสิ้นสุดการทดลอง
ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม
ด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล ชุดเดียวกับการทดสอบก่อนทำการทดลอง
สรุปผลการศึกษค้นคว้า
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเเบบปกติหลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5โดยปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีคะเเนนการคิดอย่างมีเหตุผลสูงกว่า
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น