วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันที่ 11 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.
                ความรู้ที่ได้รับ
                     วันนี้ ครูให้เขียนวิธีทำของเล่นที่ประดิษฐ์ (โทรศัพท์ รับสาย) โดยเขียนเป็นลำดับขั้น แต่เขียนข้อความให้กระชับ เข้าใจง่าย


                จากนั้นเมื่อเขียนเสร็จให้เอาไปติดที่กระดาน โดย 1 แถวติด 3 แผ่น (3คน)


-           การเขียนผังกราฟฟิก เพื่อให้เขียนกระชับ และเข้าใจง่าย
-           ผังกราฟฟิก เป็นเครื่องมือในการนำเสนอ เป็นตัว T = Technology (STEM) ข้างในเป็นข้อมูลที่เป็นลำดับขั้น คือ การวางแผน เป็นตัว E = Engineer (STEM) และการเขียนเป็นลำดับ เป็น M = Mathematics (STEM)

จากนั้นให้จับกลุ่ม 8 คน (มี 4 กลุ่ม) แล้วเลือกของเล่น 1 ชิ้น เพื่อจะนำมาสอนเด็ก
ครูยกตัวอย่างเช่น ของเล่นคานดีด แล้วตั้งคำถามกับเด็กว่า ถ้าครูเอาปอมๆไปวางไว้ตรงนั้น แล้วครูกดตรงนี้ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น (เด็กได้สังเกต) จากนั้นหาว่า คานดีดของใครดีกว่า(ให้เด็กแข่งกัน) โดยจะมีเครื่องมือวัด เช่น นิ้ว,ฝ่ามือ เมื่อแข่งขันเสร็จแล้ว ให้เขียนเป็นผังกราฟฟิก โดยขั้นที่ 1 ให้เขียนคนที่ ดีดไปได้ไกลที่สุด แล้วทำยังไงถึงไปได้ไกล โดยไล่ลำดับ 2 3 4 ลงมาเรื่อยๆ เป็นต้น
                โดยกลุ่มของเรา จะทำของเล่น ชื่อว่า พลังปริศนา โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1.ร้องเพลงสงบเด็ก
2.เตรียมอุปกรณ์วางให้เด็กดูหน้าห้องเรียน แล้วถามเด็กว่า “เด็กๆคิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกัน”
3.แนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถามว่า “เด็กๆรู้จักอุปกรณ์ชิ้นไหนบ้างที่อยู่ตรงนี้ แล้วสามารถนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปทำอะไรได้บ้าง” โดยถ้าอุปกรณ์ชิ้นไหนที่เด็กไม่รู้จัก ให้ครูบอกชื่ออุปกรณ์นั้น (ยกขึ้นมาให้เด็กดู) แล้วให้เด็กพูดชื่ออุปกรณ์นั้นตามครู
4.แนะนำอุปกรณ์
                1.แผ่นซีดี 1 แผ่น
                2.ฝาขวดน้ำ 1 ฝา
                3.หน่วยวัด (ใช้คืบในการวัด) 1 คืบ
                4.สายยาง 1 เมตร
5.เปิดคลิปวิดีโอ
6.สาธิตการประดิษฐ์ พลังปริศนา โดยพูดกับเด็กว่า “วันนี้ครูมีกิจกรรมมาให้เด็กๆทำด้วย โดยครูจะทำให้ดูก่อนหนึ่งรอบ แล้วเด็กคนไหนนั่งเรียบร้อยที่สุด จะได้ออกมาช่วยครู” เป็นการทำให้เด็กมีส่วนร่วมในการวัดความยาวของสายยาง
7.ขั้นตอนการทำ
                1.ใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์เจาะรูที่ฝาขวดให้มีขนาดพอดีกับสายยางที่เตรียมไว้
                2.นำสายยางใส่เข้าไปในรูฝาขวด
                3.ติดกาวบริเวณที่เจาะรูทั้งด้านนอกและด้านในของฝาขวด ทิ้งไว้ให้กาวแห้ง
                4.เมื่อกาวแห้งแล้ว นำฝาขวดติดกับแผ่นซีดี
8.ใช้คำถามว่า "วิธีการที่ทำให้แผ่นซีดีลอย ทำได้อย่างไรบ้าง" จากนั้นถามว่า "ถ้าเป่าแล้วจะเกิดอะไรขึ้น" แล้วชวนเด็กไปทดลอง
9.ให้เด็กแข่งขัน โดยครูกำหนดบริเวณ(พื้นที่การแข่งขัน) โดยเป่าซีดีได้เพียงหนึ่งครั้ง ถ้าของคนไหนไปได้ไกลกว่าเป็นผู้ชนะโดยมีเครื่องมือในการวัด คือ คืบ (รูปมือขนาด 1คืบ) ถามเด็กว่า “ทำไมของ(เด็กที่ชนะ)ถึงไปได้ไกลกว่าเพื่อน” จากนั้นบันทึกลงผังกราฟฟิก เหตุผลที่ไกล-ใกล้กว่า จะทำให้เด็กได้สังเกต --- เกิดการเปรียบเทียบ --- ได้ข้อมูล --- นำมาพิจาณาเลือก/ตัดสินใจ
10.สรุปผลการทดลอง ถามเด็กว่า “เด็กๆคิดว่าแผ่นซีดีลอยได้เพราะอะไร”



                การนำไปประยุกต์ใช้
                สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต โดยของเล่นที่ประดิษฐ์ เป็นการประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ และเด็กสามารถทำได้เอง อีกทั้งเด็กยังได้เล่น เพราะการเล่นเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
                การประเมิน
                การประเมินตนเอง ช่วยระดมความคิด ฟังกลุ่มอื่นแล้วนำมาปรับปรุงของกลุ่มตนเอง
                การประเมินเพื่อน เพื่อนๆช่วยกันฟัง ทั้งกลุ่มของตนเอง และกลุ่มของคนอื่น เพื่อจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

                การประเมินผู้สอน ครูบอกข้อดีและข้อเสียของกิจกรรม คอยแนะนำ ว่าควรปรับปรุงอย่างไรตรงไหน เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                การประเมินสภาพแวดล้อม แอร์หนาวมาก บรรยากาศสนุกสนานแต่ก็แอบตึงเครียดเล็กน้อยตอนที่ต้องออกไปนำเสนองาน

บันทึกการเรียน ครั้งที 9

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันที่ 4 ตุลาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.
                ความรู้ที่ได้รับ
                     วันนี้มีพี่ๆฝึกประสบการณ์ ปี 5 มาสอนทำทาโกะยากิไข่ข้าว โดยพี่ๆ แนะนำทุกขั้นตอนอย่างละเอียดว่า หากไปสอนเด็กจริงๆ ต้องทำอย่างไร พูดอย่างไร
                     โดยขั้นนำ เราจะพาเด็กร้องเพลง หรือ คำคล้องจองที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่เรียน โดยครูจะเป็นผู้อ่านให้ฟังก่อน 1 รอบ จากนั้น ให้พูดว่า ต่อไปเด็กๆร้องตามครูทีละท่อนนะคะ เมื่อร้องตามเสร็จแล้ว รอบสุดท้าย ครูและเด็กจะร้องพร้อมกัน โดยวันนี้ เพลงที่พี่ๆนำมาสอนคือ เพลง อาหารดี
เนื้อเพลง อาหารดี
                                                อาหารดีและมีประโยชน์                       คือผักสด เนื้อหมู ปู ปลา
                                เป็ด ไก่ ไข่ นม ผลไม้ นานา                                   ล้วนมีคุณค่าต่อร่างกายของเรา
                เมื่อร้องเสร็จแล้ว ครูถามเด็กๆว่า  ในเนื้อเพลงมีอะไรบ้างที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อเด็กตอบ ให้ถามต่อว่า แล้วนอกจากในเนื้อเพลง ยังมีอาหารอะไรอีกบ้างที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา
                จากนั้นให้เด็กๆดูอุปกรณ์ แล้วถามว่า เด็กๆคิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกัน เมื่อเด็กตอบแล้ว ครูแนะนำอุปกรณ์ทีละอย่าง แล้วถามเด็กว่า เด็กๆรู้จักไหมคะ อันนี้คืออะไร ถ้าเด็กไม่รู้จัก ให้ครูพูดชื่อสิ่งนั้น แล้วให้เด็กพูดตามครู
                ถึงขั้นตอนใส่ส่วนผสม ให้เด็กๆนับส่วนผสมพร้อมๆกัน เช่น ใส่แครอท ช้อนที่ 1 2 3 แล้วถามว่า เมื่อกี้ใส่แครอทไปกี่ช้อนนะ
                ก่อนเอาส่วนผสมลงกระทะ ให้ถามเด็กๆว่า เด็กๆจะรู้ได้อย่างไรคะ ว่ากระทะร้อน, แล้วถ้าครูใส่มาการีนลงไปในกระทะร้อนๆจะเป็นอย่างไรคะ
                จากนั้นใส่ส่วนผสมลงไปในเตาทาโกยากิ
*เมื่อสอนเด็กทำอาหาร ส่วนผสมจะไม่ใส่ผงชูรสเด็ดขาด
*ในทุกๆขั้นตอน ต้องให้เด็กมีส่วนร่วม เพราะการเสริมประสบการณ์ คือการให้เด็กมีส่วนร่วม
*ครูต้องทำให้เด็กดูก่อน ทุกขั้นตอน ถึงจะให้เด็กลงมือทำ

                จากนั้น พี่ๆแบ่งเราออกเป็น 4 ฐาน
1.ฐานวาดรูปส่วนผสม ทาโกะยากิไข่ข้าว
2.ฐานหั่นส่วนผสม *มีดที่ให้เด็กใช้ จะเป็นมีดพลาสติก และขณะทำ ครูจะต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
3.นำส่วนผสมมาคลุกให้เข้ากัน
4.นำส่วนผสมที่ได้ ลงเตาทาโกะยากิ








                การนำไปประยุกต์ใช้
-           รู้และเห็นภาพ เวลาสอนเด็กทำอาหารว่าควรต้องทำอย่างไรก่อน-หลัง ในแต่ละขั้นตอนมีวิธีการอย่างไร
                      การประเมิน
การประเมินตนเอง ตั้งใจฟัง จดบันทึก และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
การประเมินเพื่อน สนุกสนาน จดบันทึกขั้นตอนการสอน และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
การประเมินผู้สอน พี่ๆตั้งใจสอน อยากให้เราได้ความรู้ให้ได้มากที่สุด มีการให้รายละเอียดเยอะว่า ขั้นตอนนี้ต้องพูดแบบนี้ ทำแบบนี้ เมื่อมีคำถาม พี่ก็ให้คำตอบได้ และนอกจากนี้ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรงเรียนที่จะต้องไปฝึกประสบการณ์อีกด้วย
การประเมินสภาพแวดล้อม บรรยากาศเต็มไปด้วยความตื่นเต้นและความสนุกสนาน โดยส่วนตัวชอบการเรียนการสอนวันนี้มากค่ะ เพราะไม่เคยทำ และยังไม่เคยเห็นการสอน Cooking แบบจริงๆ

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8
วันที่ 27 กันยายน 2559



สอบกลางภาค

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันที่ 20 กันยายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้เริ่มต้นชั่วโมง อาจารย์ให้คัดลายมือ เพื่อจะได้ติดเป็นนิสัย เพราะในอนาคตเมื่อไปสอนเด็กต้องเขียนให้เด็กดู เป็นต้นแบบของเด็ก เพราะการเขียนให้เด็กดู เป็นการทำให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาธรรมชาติ


     จากนั้นอาจารย์ให้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของตนเอง ของเล่นของดิฉันคือ โทรศัพท์รับสาย แต่เนื่องจากคราวที่แล้ว อาจารย์แนะนำข้อบกพร่องมาว่าสิ่งที่ฉันทำมันซ้ำกับคนอื่น เด็กอาจจะเคยเล่นแล้ว อาจารย์จึงแนะนำให้ปรับปรุงให้มันแตกต่าง ดิฉันจึงทำโทรศัพท์ที่มีตัวกลางหลายอย่าง คือ ลวดอ่อน เชือกฟาง และเส้นเอ็น ซึ่งการที่เปลี่ยนตัวกลางจะทำให้เด็กได้สังเกตถึงความแตกต่าง นอกจากนี้ฉันยังทำโทรศัพท์แบบที่มีผู้พูด 1 คน แต่สามารถฟังได้ถึง 2 คน







     จากนั้นอาจารย์ได้ทำการทดลองของน้ำ ทำให้เห็นคุณสมบัติของน้ำว่าน้ำเป็นของเหลว จะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะ และจะรักษาระดับของตนเอง



     จากนั้นอาจารย์ได้ให้ทดลองทำกิจกรรมดอกไม้บาน โดยขั้นแรกจะให้วาดรูปดอกไม้ แล้วตัดกระดาษ จากนั้นระบายสีตรงกลางดอก แล้วพับส่วนที่เป็นดอกเข้าหากัน แล้วเอาไปลอยในน้ำที่อาจารย์เตรียมไว้ให้


     จะเห็นได้ว่า ดอกไม้จะบานออก โดยที่ไม่ต้องใช้มือเปิด เพราะว่า เมื่อโมเลกุลของกระดาษมีช่องว่างน้ำจะซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อกระดาษทำให้กระดาษบานออก และถ้าหากเราทิ้งกระดาษไว้นานๆ กระดาษก็จะจม เพราะน้ำจะซึมเข้าไปมากขึ้น ทำให้กระดาษหนักขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต
     การประดิษฐ์ หรือการทำงานต่างๆ ไม่ควรทำซ้ำเดิม เพราะเด็กก็จะได้ประสบการณ์แบบเดิมๆ แต่ควรดัดแปลงจากเดิม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู็อะไรที่แปลกใหม่  และยังเป็นการท้าทายความสามารถ เพิ่มเติมความรู้ให้ตัวเราเองด้วย

ประเมินผู้สอน
     อาจารย์ได้สอนสิ่งที่ไม่เคยได้เรียนรู้มาก่อน ทำให้นักศึกษามีความรู้ และได้เห็นสิ่งที่แปลกใหม่ ที่สามารถนำไปสอนเด็กได้ในอนาคต

ประเมินเพื่อน
    เพื่อนตั้งใจนำเสนอของเล่นของตนเอง และตื่นเต้นกับการทดลอง ที่อาจารย์นำมาสอน

ประเมินตนเอง
     ประทับใจตนเองที่ไม่ถอดใจ เปลี่ยนไปทำของเล่นประดิษฐ์อย่างอื่น แต่ดัดแปลงของเล่นให้มีความแปลกใหม่ ทำให้อาจารย์ยอมรับได้

ประเมินสภาพแวดล้อม
     บรรยากาศชวนให้ตื่นเต้น แอร์ที่หนาวอยู่แล้วก็ทำให้รู้สึกหนาวกว่าปกติ เพราะต้องมีความตื่นเต้นก่อนออกไปนำเสนอผลงานของตนเอง




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

วันที่ 13 กันยายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
     เริ่มเรียนวันนี้อาจารย์ให้คัดลายมือ เพื่อให้ติด จนเขียนออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ เพราะในอนาคต ต้องเขียนเป็นต้นแบบให้เด็ก



จากนั้นอาจาย์ได้ให้ดู คลิปวิโอ ความลับของแสง

     ความรู้ที่ได้รับจากการชมคลิป ความลับของแสง คือแสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง เดินทางเป็นเส้นตรง300000/วินาที
คุณสมบัติของแสง
การเดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear propagation)
การหักเห (Refraction)
การสะท้อน (Reflection)
การกระจาย (Dispersion)

     เมื่อดูคลิปจบแล้ว อาจารย์ได้นำของเล่นมาให้ดู





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     รู้จักวื่อวิทยาศาสตร์หลายชนิด เพื่อนำไปสอนเด็กได้ในอนาคต

ประเมินผู้สอน
     อาจารย์เตรียมสื่อการสอนมาหลากหลาย ทำให้นักศึกษาได้เห็นภาพ เห็นของจริง เพิ่มความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากขึ้น

ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง และสนใจสื่อที่อาจารย์เตรียมมาให้ดู

ประเมินตนเอง
     ชอบสื่อวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์เตรียมมาให้ สนใจเนื้อหาที่อาจารย์เตรียมมาสอน

ประเมินสภาพแวดล้อม
     บรรยากาศในห้องเต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น ของเพื่อนๆคะ



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 6 กันยายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.
              
  ความรู้ที่ได้รับ
                     วันนี้ ครูให้มาดูคลิปวิทยาศาสตร์ เรื่อง อากาศ ที่ห้องมัลติมีเดีย ณ สำนักวิทยบริการ โดยการทดลองในคลิปมีดังนี้
1.การทดลอง อากาศ ไม่ทำให้ทิชชูเปียก
2.การทดลอง กรอกน้ำใส่ขวดแล้วนำดินน้ำมันติดไว้ที่ปากขวด
3.การชั่งน้ำหนักอากาศ โดยน้ำหนักของอากาศจะขึ้นอยู่กับความร้อน ความเย็น ของอากาศนั่นเอง
4.การทดลองแขวนแก้ว โดยเอาความร้อนมาจ่อทำให้อากาศร้อน หลักการนี้ ที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันคือ ใช้ในการผลิตบอลลูน
5.โหลเปล่า แช่น้ำร้อน-น้ำเย็น การทดลองนี้ เป็นการทดลองเกี่ยวกับการปรับสมดุล ของลม โดยบนพื้นโลกนั้น ในแต่ละที่ความร้อน-ความเย็นของอากาศไม่เท่ากัน
*แรงดันอากาศ คือ แรงที่อากาศกดลงบนพื้นผิววัตถุ
                เช่น          1.เทน้ำใส่แก้ว แล้วนำกระดาษมาปิด จากนั้นคว่ำแก้ว จะเห็นได้ว่า น้ำจะไม่หก
                                2.นำลูกโป่ง(ที่ยังไม่ได้เป่า)วางไว้ใต้หนังสือ จากนั้น ค่อยๆเป่าลูกโป่ง จะเห็นได้ว่า ลูกโป่งจะยกหนังสือขึ้น โดยที่เราไม่ต้องใช้มือยกหนังสือ
                                3.การเจาะรูบนกระป๋องนม ต้องเจาะ 2 รู ตรงข้ามกัน จะทำให้สามารถเทนมออกมาได้
*แรงต้านอากาศ คือ แรงที่อากาศต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ
                เช่น          1.การกระโดดร่ม
                                จากนั้นนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์ ซึ่งฉันประดิษฐ์ โทรศัพท์รับสาย ซึ่งใช้หลักการวิทยาศาสตร์ คือ เสียงจะเดินทางได้ต้องอาศัยตัวกลาง ซึ่งปกติการที่มนุษย์สื่อสารกันธรรมดา อากาศที่อยู่ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารนั้นจะเปรียบเหมือนเป็นตัวกลาง แต่เมื่อเราพูดในกระบอกแก้วจะเปรียบเหมือนอากาศปิด หลังจากนำเสนอเสร็จครูก็จะให้คำแนะนำและคำติชม นักศึกษาแต่ละคนเกี่ยวกับของเลนที่ประดิษฐ์มา
               
การประยุกต์ใช้
-           สามารถนำเนื้อหาหรือกิจกรรมไปสอนเด็กได้ในอนาคต
การประเมิน
การประเมินตนเอง ตั้งใจดูคลิป และพยายามจดบันทึก ส่วนข้อติชมที่ครูได้แนะนำมานั้นก็น้อมรับและนำมาแก้ไขปรับปรุงของเล่นต่อไป
การประเมินเพื่อน เพื่อนๆเตรียมตัวมานำเสนองาน หาข้อมูล หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับของเล่นที่ตนเองประดิษฐ์ โดยเพื่อนส่วนมากได้นำของเล่นมาด้วย

การประเมินผู้สอน ครูพยายามหาสื่อ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาให้ดู เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นและเข้าใจมากขึ้น อีกทั้งยังพยายามให้นักศึกษาพัฒนาตนเอง คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยนำสิ่งของเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
การประเมินสภาพแวดล้อม ไม่เคยไปห้องมัลติมีเดีย ไปครั้งแรกรู้สึกประทับใจมาก บรรยากาศเหมือนโรงหนังจริงๆ

งานวิทยาศาสตร์


งานวิทยาศาสตร์
ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี









โทรศัพท์ รับสาย

โทรศัพท์ รับสาย



อุปกรณ์
1.แก้วกระดาษ
2.กาว
3.กระดาษสี
4.กรรไกร
5.เส้นเชือก
6.เส้นเอ็น
7.เส้นลวดอ่อน
8.เชือกฟาง












ขั้นตอนการทำ


1.เจาะรูที่ก้นแก้วกระดาษ



2.จากนั้นร้อยเชือก



3.เมื่อร้อยเชือกได้แล้ว ให้ขมวดปมเชือก ด้านในแก้วเพื่อกันไม่ให้เชือกหลุดออกมา
*ทำเช่นนี้ทั้งสองด้านของปลายเชือก*


4.ตกแต่งให้สวยงาม


ผู้จัดทำประดิษฐ์โทรศัพท์ รับสาย เพิ่มอีก 3 คู่ โดยเปลี่ยนตัวกลางการเดินทางของเสียง โดยใช้ เส้นเอ็น เส้นลวดอ่อน และเชือกฟาง(ขั้นตอนการทำเหมือนกับด้านบน) อีกทั้งยังได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ รับสายอีกแบบหนึ่งคือ มี ผู้พูด 1 คน ผู้ฟัง 2 คน


โทรศัพท์ รับสาย แบบเส้นเชือก


โทรศัพท์ รับสาย แบบเส้นลวด

โทรศัพท์ รับสาย แบบเชือกฟาง


โทรศัพท์ รับสาย แบบ มีผู้พูด 1 คน ผู้ฟัง 2 คน

วิธีการเล่น
ฝั่งหนึ่งพูด หรือ ส่งเสียงไปหาฝั่งหนึ่ง
ส่วนอีกฝั่งหนึ่งรับฟัง
ทดลองเล่นจนครบทั้ง 4 ตัวกลาง แล้วสังเกตความแตกต่างของเสียงที่ออกมา

หลักการทางวิทยาศาสตร์
            เสียงจะเดินทางได้ต้องอาศัยตัวกลาง ซึ่งปกติการที่มนุษย์สื่อสารกันธรรมดา อากาศที่อยู่ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารนั้นจะเปรียบเหมือนเป็นตัวกลาง แต่เมื่อเราพูดในกระบอกแก้วจะเปรียบเหมือนอากาศปิด ดังนั้นเสียงจึงต้องใช้ตัวกลาง ในที่นี้จะใช้ เส้นเชือก เส้นเอ็น เชือกฟาง และเส้นลวดอ่อน จึงทำให้เกิดการได้ยิน

บูรณาการทางวิทยาศาสตร์
            บูรณาการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กที่พบในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นการบูรณาการกับสาระฟิสิกส์ โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต เป็นต้น





วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4
วันที่ 30 สิงหาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น.
                ความรู้ที่ได้รับ
1.คัดลายมือ



2.ครูแจกกระดาษ และคลิป โดยให้จับกลุ่มกัน ประดิษฐ์สื่อการสอนในเรื่อง ลม
   *ลม เกิดขึ้นเมื่อมีการทำให้อากาศเคลื่อนที่
                เรื่องที่แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ
1.การเกิดฝน (ใช้นิทานเป็นสื่อ)
2.พัด
3.กังหันลม
4.กังหันลม ทำให้รู้ทิศทางของลม ลมมีพลังงาน เมื่อลมไปปะทะกับบางอย่างจะทำให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ ในการนี้ ทำให้กังหันลม มีประโยชน์ เช่น การวิดน้ำเข้านา เป็นต้น
5.แรงต้าน (การทดลอง)
6.นาฬิกาฤดูกาล
7.ลมบกลมทะเล

การประยุกต์ใช้
-           ก่อนจะสอนเนื้อหาให้เด็ก ควรดูถึงความเหมาะสมของเนื้อหาด้วย

              กระประเมิน
-           การประเมินตนเอง พยายามคิดเรื่องที่จะสอนเด็ก โดยคิดกิจกรรมจากสิ่งที่ครู
กำหนดให้ และน้อมรับคำติของครูมาปรับปรุง
-           การประเมินเพื่อน เพื่อนช่วยกันระดมความคิดในแต่ละกลุ่ม พยายามทำออกมาให้ดีที่สุด และน้อมรับคำติชมของครู

-           การประเมินผู้สอน ครูมีการอธิบาย ให้คำแนะนำกับทุกกลุ่มอย่างดี ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น
                การประเมินสภาพแวดล้อม แอร์เย็นเกินไป

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3
วันที่ 23 สิงหาคม 2559
เวลา 13.30 -17.30 น.

      ความรู้ที่ได้รับ
          ทำใบงาน สรุปความรู้


     การประยุกต์ใช้
-           สามารถสรุปเนื้อหา, เรื่องที่เรียนได้

     กระประเมิน
-           การประเมินตนเอง ทำงานเสร็จทันเวลา และพยายามอ่านให้เข้าใจแล้วค่อยสรุปความออกมา
-           การประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจทำงาน มีคุยกันบ้างแต่ไม่เสียงดัง

-           การประเมินผู้สอน ครูสั่งงานสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน และสิ่งที่นักศึกษาควรรู้
                การประเมินสภาพแวดล้อม บรรยากาศเป็นกันเอง ไม่ตึงเครียด